ระบบคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่คุ้นเคยและมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของเราในปัจจุบัน มันเป็นระบบที่ประกอบด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ทำงานร่วมกันเพื่อประมวลผลข้อมูลและให้บริการในการดำเนินการต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ นี่คือความหมายของระบบคอมพิวเตอร์และองค์ประกอบสำคัญของมัน:
1. ความหมายของระบบคอมพิวเตอร์: ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System) หมายถึงการทำงานของคอมพิวเตอร์ที่มี่ส่วน ต่าง ๆ ทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการทำงานอย่างมีระบบ และมีประสิทธิภาพ
2. องค์ประกอบหลักของระบบคอมพิวเตอร์:
2.1 ฮาร์ดแวร์ (Hardware): คือ ส่วนของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่อพ่วงที่ประกอบขึ้นแล้วสามารถจับต้องได้ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ (Compuiter) ปรินเตอร์ (Printer) ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk) เป็นต้น โดยฮาร์ดแวร์สามารถแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ตามประเภทการใช้งานได้ ดังนี้คือ
1 ) หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) ทำหน้าที่รับเข้าข้อมูลจากผู้ใช้งานเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะทำการแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปสัญญาณดิจิทัลที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับเข้าข้อมูล เช่น แป้นพิมพ์ เมาส์ สแกนเนอร์ เครื่องบันทึกเสียง เป็นต้น
2 ) หน่วยแลดงผลข้อมูล (Output Unit) ทำหน้าที่ในการแสดงผลข้อมูลที่ผ่านการประมวลแล้ว โดยจะแปลงผลลัพธ์จากสัญญาณดิจิทัลมาเป็นภาษาที่มนุษย์เข้าใจ เช่น เสียง ตัวอักษร รูปภาพ เป็นต้น ผ่านอุปกรณ์แสดงผลข้อมูล เช่น จอภาพ ปรินเตอร์ ลำโพง เป็นต้น
3 ) หน่วยเก็บข้อมูล (Storage) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลและคำสั่งเพื่อไว้ใช้งานในอนาคต ซึ่งหน่วยเก็บข้อมูลจะมี 2 ลักษณะ ดังนี้
- หน่วยความจำหลัก (Primary Storage) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลชั่วคราวก่อนการนำไปประมวนผลเก็บคำสั่งของโปรแกรมขณะใช้งาน และเก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวนผลก่อนนำไปแสดงผล ได้แก่ แรม (Random Access Memory: RAM) และรอม (Read Only Memory: ROM)
- หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage) เป็นอุปกรณ์ที่สามารถเก็บข้อมูลไว้ใช้ในภายหลังได้ ถึงแม้เครื่องคอมพิวเตอร์ถูกปิด และสามารถลบหรือเขียนทับใหม่ได้ โดยโปรแกรมที่เก็บไว้จะไม่สูญ-หาย และไม่ถูกลบทิ้ง เช่น ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) แผ่นซีดี (Compact Disc Read Only Memory: CD-ROM) เมมโมรีการ์ด (Memory Card) แฟรชไดรฟ์ (Flash Drive) เป็นต้น ยกเว้นอุปกรณ์ดังกล่าวจะบกพร่อง
4 ) หน่วยประมวนผลกลาง (Central Processing Unit: CPU) ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูล เช่น คำสั่งของหน่วยรับข้อมูล ประมวลผลคำสั่งในการควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ และประมวลผลข้อมูลที่ได้รับจากหน่วยรับข้อมูล ตามคำสั่งที่ปรากฎอยู่ในโปรแกรม
2.2 ซอฟต์แวร์ (Software) คือ ส่วนของโปรแกรมที่เป็นคำสั่งในการควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานตามลำดับขั้นตอน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1 ) ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) คือ โปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ทำงานประสานกัน และควบคุมลำดับขั้นตอนการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบคอมพิวเตอร์ โดยซอฟต์แวร์ระบบสามารถแบ่งออกได้ดังนี้
- ระบบปฏิบัติการ (Operating System: OS) คือ โปรแกรมที่คอยควบคุมการประสานงานระหว่างซอฟต์แวร์กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ โดยระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมในสมัยนี้ ได้แก่ ระบบปฏิบัติการดอส ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ระบบปฏิบัติการแมคอินเทอช ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ และระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์
- โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utility Programs) เป็นโปรแกรมที่ติดตั้งมาพร้อมระบบปฎิบัติการเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานร่วมกับฮาร์ดแวร์ ตัวอย่างโปรแกรม มีดังนี้
โปรแกรมจัดการไฟล์ (File Manager)
โปรแกรมสแกนดิสก์ (Disk Scanner)
โปรแกรมรักษาหน้าจอ (Screen Saver)
โปรแกรมยกเลิกการติดตั้งโปรแกรม (Uninstaller)
โปรแกรมจัดเรียงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ (Disk Defragmenter)
2 ) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) คือ โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อกางใช้งานตามความต้องการด้านต่าง ๆ ของผู้ใช้ โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
- ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป (General Purpose Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อการใช้งานทั่วไป ซึ่งผู้ใช้จะต้องเลือกใช้งานซอฟต์แวร์ให้สอดคล้องและเหมาะสมตามคาดต้องการ ซอฟต์แวร์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกกับนักเรียน เช่น
ซอฟต์แวร์ประมวลคำ เช่น Microsoft Word, PageMaker
ซอฟต์แวร์นำเสนอ เช่น Microsoft PowerPoint, Open office
ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน เช่น Microsoft Excel, Pladao office
ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล เช่น Microsoft Access, Obsolete
- ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน (Application Software for Specific Purpose) เป็น ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อการใช้งานเฉพาะด้าน โดยส่วนใหญ่แล้วจะพัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานในองค์กรใดองค์กรหนึ่ง เช่น โปรแกรมคำนวณภาษีของกรมศุลกากร โปรแกรม ฝาก-ถอนเงินของธนาคาร โปรแกรมคำนวณของเจ้าหน้าที่การเงิน เป็นต้น
3. บุคลากร (People) จะเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เพื่อป้อนข้อมูลหรือใช้คำสั่งกับคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะเป็นตัวกำหนดถึงประสิทธิภาพ ความสำเร็จ และความคุ้มค่าในการใช้งานคอมพิวเตอร์ บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ ได้แก่ โปรแกรมเมอร์ (Programmer) ผู้ใช้ (User) ผู้ปฏิบัติการ (Operator) ผู้จัดการระบบ (System Manager) และผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator: DBA)
4. ข้อมูลสารสนเทศ (Data and Information) ข้อมูลดิบที่มีจำนวนมากอาจอยู่ในรูปของ ตัวเลข ตัวอักษร หรือกราฟิก ซึ่งเป็นข้อมูลที่ต้องการการประมวลผลเพื่อทราบผลลัพธ์ หรือต้องการ จัดเก็บให้เป็นระบบเพื่อสามารถนำไปใช้งานต่อไปได้
5. กระบวนการ (Procedure) กระบวนการทำงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ ซึ่งใน การทำงานกับคอมพิวเตอร์ผู้ใช้จำเป็นต้องทราบขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้งานที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยอาจจะมีขั้นตอนสลับซับซ้อนหลายขั้นตอน ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องมีคู่มือปฏิบัติงาน เช่น คู่มือผู้ใช้ คู่มือผู้ดูแลระบบ เป็นต้น
ระบบคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่มีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันและสายงานต่าง ๆ ของเรา โดยที่การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์เป็นผลมาจากการประมวลผลข้อมูลที่รับมาตามคำสั่งจากซอฟต์แวร์และมนุษย์ผ่านฮาร์ดแวร์ ซึ่งเราสามารถใช้คอมพิวเตอร์เพื่อทำงานต่าง ๆ เช่น การสร้างเอกสาร, การสื่อสารผ่านอีเมล, เพลิดเพลินกับการเล่นเกม, การทำงานกับสื่อต่าง ๆ เช่น รูปภาพและวิดีโอ, การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ, และหลายกิจกรรมอื่น ๆ อีกมาก ระบบคอมพิวเตอร์มีบทบาทสำคัญในการประมวลผลข้อมูลที่ซับซ้อนและการทำงานที่ต้องการความรวดเร็วและความแม่นยำในปัจจุบันและเป็นเครื่องมือที่สำคัญในชีวิตของเราทั้งในด้านส่วนบุคคลและธุรกิจไปจนถึงการวิจัยและพัฒนา.
ชนินทร เฉลิมสุข และอภิชาติ คำปลิว. 2562. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ม.2. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี : ไทยร่มเกล้า.