Form management Feature
- เข้าสู่เมนู “Form”
เพื่อเรียกจัดการ Form management feature
- หน้าจอแสดงรายการแบบฟอร์มทั้งหมดของระบบ
คือส่วนแสดงแบบฟอร์มทั้งหมดที่เราได้ทำการสร้างขึ้นกับระบบ ซึ่งสามารถดำเนินการต่างๆได้ดังนี้
#1: ตารางแสดงแบบฟอร์ม
#2 และ #3: การสร้างและแก้ไขชื่อเรียกแบบฟอร์ม (คลิกเพื่อไป 3. หนาจัดการชื่อแบบฟอร์ม)
#4: การลบแบบฟอร์ม ใช้สำหรับกรณีที่ไม่ต้องการใช้งานแบบฟอร์มดังกล่าวแล้ว
#5: การจัดการช่องรับข้อมูลของแบบฟอร์ม ซึ่งส่วนนี้จะเป็นส่วนสำคัญที่สุดในการทำแบบฟอร์ม
(คลิกเพื่อไป 4. หน้าแสดงรายการช่องรับข้อมูล)
#6: การเรียกดูข้อมูลที่ได้รับจากการกรอกข้อมูลของผู้ใช้งาน
- หน้าจัดการชื่อแบบฟอร์ม
เป็นส่วนของการตั้งชื่อแบบฟอร์ม (ไม่ใช่เป็นตัวจัดการช่องรับข้อมูลที่จะให้ผู้ใช้ทำการกรอกข้อมูล)
#1: ชื่อแบบฟอร์ม
#2: อีเมล์ที่ต้องการรับเตือนข้อมูลเมื่อมีผู้ใช้ทำการกรอกแบบฟอร์มเข้าสู่ระบบ โดยสามารถกรอกได้ มากกว่า 1 อีเมล์ ตัวอย่างเช่น contact_1@keeate.com, contact_2@keeate.com (กรณีใช้มากกว่า 1 อีเมล์จำเป็นจำต้องมีเครื่องหมาย comma ขั้นกลาง
#3: รูปภาพปกสำหรับแบบฟอร์ม (จะแสดงอยู่บนสุดของแบบฟอร์มรับข้อมูล)
- หน้าแสดงรายการช่องรับข้อมูล
เป็นการแสดงฟิลด์รับข้อมูลทั้งหมดของระบบโดยมีรายละเอียดดังนี้
#1: ตารางรายการฟิลด์ที่สร้างขึ้นให้กับแบบฟอร์ม จากตัวอย่างอธิบายได้ว่า
รายการที่ 1: มีการกำหนดชื่อฟิลด์ว่าเป็น “ชื่อลูกค้า”, ประเภท “Text”, เงื่อนไขการกรอก ข้อมูล “Required”
รายการที่ 2: มีการกำหนดชื่อฟิลด์ว่าเป็น “เบอร์โทรศัพท์”, ประเภท “number”, เงื่อนไข การกรอกข้อมูล “Required”
รายการที่ 3: มีการกำหนดชื่อฟิลด์ว่าเป็น “ที่อยู่”, ประเภท “textarea”, เงื่อนไขการกรอก ข้อมูล “Required”
รายการที่ 4: มีการกำหนดชื่อฟิลด์ว่าเป็น “รูปสินค้า”, ประเภท “image”, เงื่อนไขการ กรอกข้อมูล “Required”
#2 และ #3: ส่วนของการสร้างหรือแก้ไขเงื่อนไขการกรอกข้อมูลในแต่ละฟิลด์ (คลิกเพื่อเปิด 4.1
แบบฟอร์มการจัดการฟิลด์ข้อมูล)
#4: คลิกลบเมื่อต้องการ
#5: แสดงตัวอย่างหน้าจอแบบฟอร์มที่ได้ทำการสร้างขึ้น (คลิกเพื่อเปิด 4.2 ตัวอย่างหน้าจอ แบบฟอร์ม)
4.1 แบบฟอร์มการจัดการฟิลด์ข้อมูล
จากแบบฟอร์มด้านบนอธิบายได้ดังนี้
#1: รูปแบบช่องรับข้อมูล ซึ่งประกอบด้วย
Text: เป็นช่องรับข้อมูล โดยผู้ใช้จะต้องกรอกข้อมูลในช่องดังกล่าว
Number: คล้ายกับแบบ Text แต่จะอนุญาตให้กรอกเฉพาะตัวเลข
Email: คล้ายกับแบบ Text แต่กรณีทีกรอกข้อมูลไม่ตรง format ของอีเมล์ จะไม่สามารถส่งข้อมูลได้
Password: คล้ายกับ Text แต่เมื่อพิมพ์จะไม่แสดงตัวหนังสือที่พิมพ์ให้เห็น
Textarea: คล้ายกับ Text แต่สามารถรับข้อมูลปริมาณที่มากกว่า Text ตัวอย่างเช่น การที่ต้องการให้ผู้ใช้กรอกรายละเอียดสินค้า
Select: เป็นกล่องข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
Checkbox: เป็นกล่องข้อมูลที่ผู้ใช้สามารถติ๊กเลือกได้มากกว่า 1 รายการ
Image: การแนบรูปภาพ
PDF: การแนบไฟล์ PDF
#2: หัวข้อฟิลด์ เช่นต้องการรับข้อมูลที่อยู่ สามารถตั้งว่า “Address” หรือ “ที่อยู่”
#3: กำหนดว่าช่องรับข้อมูลดังกล่าวผู้ใช้จำเป็นต้องกรอกหรือไม่ กรณี “Yes” หมายถึงผู้ใช้ต้องกรอก ข้อมูลดังกล่าวด้วย กรณีไม่กรอก จะไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้
4.2 ตัวอย่างหน้าจอแบบฟอร์ม
หน้าจอแสดงตัวอย่างแบบฟอร์มที่ได้ทำการสร้างขึ้น
- การสร้างปุ่มเพื่อเรียกใช้งานแบบฟอร์ม
สามารถทได้ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
5.1 เข้าสู่เมนู “Application Design” ที่บริเวณมุมบนขวาของหน้าจอ
5.2 เลือก “Add Menu” ที่บริเวณด้านซ้ายของหน้าจอ
5.3 จะพบหน้าจอตามตัวอย่าง ซึ่งสามารถอธิบายได้ดังน
#1: เลือก Feature ซึ่งสามารถเลือกใช้งานได้ 2 แบบได้แก่ “Form”
#2: ตั้งชื่อเมนูที่จะแสดงบนโมบายแอป
#3: ส่วนของการเลือกแบบฟอร์มที่ต้องการ
#4: เลือกแสดงเมนูดังกล่าวบนระบบปฏิบัติการ iOS
#5: เลือกแสดงเมนูดังกล่าวบนระบบปฏิบัติการ Android